วันอาทิตย์, กันยายน 13, 2552

ประวัติจังหวัดนครราชสีมา

ประวัติจังหวัดนครราชสีมา


นครราชสีมา หรือที่เรียกว่า "โคราช" เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ผู้มาเยือนจะเพลิดเพลินกับกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งเดินป่าศึกษาธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้งยังได้อิ่มอร่อยกับอาหารอีสานต้นตำรับ ก่อนกลับยังได้ซื้อหาสินค้าเกษตรหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีให้เลือกอีกมากมาย

คำว่า นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง นครราชสีมาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เคยมีฐานะเป็นเมือง "เจ้าพระยามหานคร"เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง จนมาถึงปัจจุบันก็ยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน

จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,494 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 26 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ ด่านขุนทด โนนไทย โนนสูง ขามสะแกแสง พิมาย คงโนนแดง ประทาย ชุมพวง บัวใหญ่ แก้งสนามนาง บ้านเหลื่อม จักราช ห้วยแถลง ปักธงชัย โชคชัย ครบุรี เสิงสาง หนองบุนนาก วังน้ำเขียว เฉลิมพระเกียรติ และอีก 6 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอเมืองยาง เทพารักษ์ ลำทะเมนชัย พระทองคำ บัวลายและสีดา

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และสระบุรี

การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา รถยนต์ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่นิยมที่สุดคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่สระบุรี ไปจนถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 259 กิโลเมตร อีกเส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี ปักธงชัย ถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 273 กิโลเมตร หรืออาจเลือกใช้เส้นทางรังสิต-นครนายก ต่อทางหลวงหมายเลข 33 ไปกบินทร์บุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านวังน้ำเขียว ปักธงชัย เข้านครราชสีมา

รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ไปนครราชสีมาทุกวันและตลอดทั้งวัน รายละเอียดสอบถาม โทร. 0 2936 1880, 0 2936 0657 , 0 2936 2852-66 บริษัทเอกชนที่เปิดบริการเดินรถคือ บริษัท ราชสีมาทัวร์ โทร. 0 44 24 5443 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 1615 และ บริษัทแอร์โคราช โทร. 0 44 25 2999 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2252 www.transport.co.th

สถานีขนส่งที่นครราชสีมามีสองแห่งคือ สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ โทร. 0 44 24 2899, 0 4426 8899 และสถานีขนส่งแห่งที่ 2 ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น โทร. 0 44 25 6006-9 ต่อ 175, 176 (รถปรับอากาศ) , 178 (รถธรรมดา)

รถไฟ มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

เครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัดมหาชน มีเที่ยวบินไปจังหวัดนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ กรุงเทพฯโทร. 1566, 0 2281 0060, 0 2628 2000 และนครราชสีมาโทร. 0 4425 7211-2, 0 4425 4834-5 (ท่าอากาศยานนครราชสีมาอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครราชสีมา-จักราช อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ) www.thaiairways.com

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
1.เฉลิมพระเกียรติ 18 กิโลเมตร
2.ขามทะเลสอ 22 กิโลเมตร
3.โนนไทย 29 กิโลเมตร
4.โนนแดง 30 กิโลเมตร
5.โชคชัย 31 กิโลเมตร
6.ปักธงชัย 34 กิโลเมตร
7.สูงเนิน 36 กิโลเมตร
8.โนนสูง 37 กิโลเมตร
9.พระทองคำ 37 กิโลเมตร
10.จักราช 40 กิโลเมตร
11.สีคิ้ว 45 กิโลเมตร
12.ขามสะแกแสง 50 กิโลเมตร
13.หนองบุนนาก 52 กิโลเมตร
14.ครบุรี 58 กิโลเมตร
15.พิมาย 60 กิโลเมตร
16.ห้วยแถลง 65 กิโลเมตร
17.วังน้ำเขียว 70 กิโลเมตร
18.คง 79 กิโลเมตร
19.ด่านขุนทด 84 กิโลเมตร
20.บ้านเหลื่อม 85 กิโลเมตร
21.ปากช่อง 85 กิโลเมตร
22.สีดา 85 กิโลเมตร
23.เสิงสาง 88 กิโลเมตร
24.เทพารักษ์ 90 กิโลเมตร
25.ประทาย 97 กิโลเมตร
26.ชุมพวง 98 กิโลเมตร
27.บัวใหญ่ 101 กิโลเมตร
28.บัวลาย 106 กิโลเมตร
29.เมืองยาง 110 กิโลเมตร
30.แก้งสนามนาง 130 กิโลเมตร
31.ลำทะเมนชัย 130 กิโลเมตร

การเดินทางภายในตัวจังหวัด

มีรถสองแถวและรถเมล์สายต่างๆ วิ่งบริการภายในตัวเมืองและบริเวณใกล้เคียง โดยแบ่งออกเป็นหลายสายด้วยกัน หากต้องการความสะดวกยิ่งขึ้นลงอาจใช้บริการรถสามล้อถีบ และรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งให้บริการผู้โดยสารในเขตตัวเมือง โดยตกลงราคาก่อนการเดินทาง หากต้องการเดินทางไปต่างอำเภอ สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ มีทั้งรถสองแถวและรถโดยสารประจำทางให้บริการ ส่วนสถานีขนส่งแห่งที่ 2 นั้นมีรถโดยสารไปเฉพาะอำเภอพิมายและไปด่านเกวียน-โชคชัย

การเดินทางระหว่างจังหวัด

รถโดยสารวิ่งบริการระหว่างจังหวัดจะออกจากสถานีขนส่งแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น) โดยมีรถจากนครราชสีมาไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ (สายเก่าผ่านนางรอง และสายใหม่ผ่านห้วยแถลง) สุรินทร์ (ผ่านนางรอง-บ้านตะโก) นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารไปยังจังหวัดในภาคอื่นได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี พัทยา ระยอง จันทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ และเชียงราย (ไปจนถึงแม่


งานประเพณี

งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) เป็นงานประจำปีของจังหวัด กำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันที่คุณหญิงโมได้รับชัยชนะจากข้าศึก ในงานมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมการออกร้านจัดนิทรรศการต่างๆ ของหน่วยงานราชการและภาคเอกชน

งานประเพณีแข่งเรือพิมาย เป็นงานประเพณีที่ชาวอำเภอพิมายร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะจัดในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน งานนี้นอกจากจะมีการแข่งเรือของชาวบ้านจากหมู่บ้านต่างๆ ในอำเภอพิมายและอำเภอใกล้เคียงแล้ว ยังมีการตกแต่งเรือตามแบบเรือพระราชพิธี พร้อมประกวดการแห่เรือด้วย ซึ่งนับว่าเป็นงานที่น่าชมมาก

งานเทศกาลเที่ยวพิมาย จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดนครราชสีมา คือ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดียวกับงานประเพณีแข่งเรือพิมาย ภายในงานมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การแข่งเรือยาวประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่พุทธราชาและพุทธประวัติ ขบวนแห่พุทธประทีปและการแสดงประกอบแสง เสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น