วันอาทิตย์, กันยายน 13, 2552

ประวัติจังหวัดนครราชสีมา

ประวัติจังหวัดนครราชสีมา


นครราชสีมา หรือที่เรียกว่า "โคราช" เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ผู้มาเยือนจะเพลิดเพลินกับกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งเดินป่าศึกษาธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้งยังได้อิ่มอร่อยกับอาหารอีสานต้นตำรับ ก่อนกลับยังได้ซื้อหาสินค้าเกษตรหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีให้เลือกอีกมากมาย

คำว่า นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง นครราชสีมาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เคยมีฐานะเป็นเมือง "เจ้าพระยามหานคร"เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง จนมาถึงปัจจุบันก็ยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน

จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,494 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 26 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ ด่านขุนทด โนนไทย โนนสูง ขามสะแกแสง พิมาย คงโนนแดง ประทาย ชุมพวง บัวใหญ่ แก้งสนามนาง บ้านเหลื่อม จักราช ห้วยแถลง ปักธงชัย โชคชัย ครบุรี เสิงสาง หนองบุนนาก วังน้ำเขียว เฉลิมพระเกียรติ และอีก 6 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอเมืองยาง เทพารักษ์ ลำทะเมนชัย พระทองคำ บัวลายและสีดา

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และสระบุรี

การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา รถยนต์ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่นิยมที่สุดคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่สระบุรี ไปจนถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 259 กิโลเมตร อีกเส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี ปักธงชัย ถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 273 กิโลเมตร หรืออาจเลือกใช้เส้นทางรังสิต-นครนายก ต่อทางหลวงหมายเลข 33 ไปกบินทร์บุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านวังน้ำเขียว ปักธงชัย เข้านครราชสีมา

รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ไปนครราชสีมาทุกวันและตลอดทั้งวัน รายละเอียดสอบถาม โทร. 0 2936 1880, 0 2936 0657 , 0 2936 2852-66 บริษัทเอกชนที่เปิดบริการเดินรถคือ บริษัท ราชสีมาทัวร์ โทร. 0 44 24 5443 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 1615 และ บริษัทแอร์โคราช โทร. 0 44 25 2999 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2252 www.transport.co.th

สถานีขนส่งที่นครราชสีมามีสองแห่งคือ สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ โทร. 0 44 24 2899, 0 4426 8899 และสถานีขนส่งแห่งที่ 2 ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น โทร. 0 44 25 6006-9 ต่อ 175, 176 (รถปรับอากาศ) , 178 (รถธรรมดา)

รถไฟ มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

เครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัดมหาชน มีเที่ยวบินไปจังหวัดนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ กรุงเทพฯโทร. 1566, 0 2281 0060, 0 2628 2000 และนครราชสีมาโทร. 0 4425 7211-2, 0 4425 4834-5 (ท่าอากาศยานนครราชสีมาอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครราชสีมา-จักราช อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ) www.thaiairways.com

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
1.เฉลิมพระเกียรติ 18 กิโลเมตร
2.ขามทะเลสอ 22 กิโลเมตร
3.โนนไทย 29 กิโลเมตร
4.โนนแดง 30 กิโลเมตร
5.โชคชัย 31 กิโลเมตร
6.ปักธงชัย 34 กิโลเมตร
7.สูงเนิน 36 กิโลเมตร
8.โนนสูง 37 กิโลเมตร
9.พระทองคำ 37 กิโลเมตร
10.จักราช 40 กิโลเมตร
11.สีคิ้ว 45 กิโลเมตร
12.ขามสะแกแสง 50 กิโลเมตร
13.หนองบุนนาก 52 กิโลเมตร
14.ครบุรี 58 กิโลเมตร
15.พิมาย 60 กิโลเมตร
16.ห้วยแถลง 65 กิโลเมตร
17.วังน้ำเขียว 70 กิโลเมตร
18.คง 79 กิโลเมตร
19.ด่านขุนทด 84 กิโลเมตร
20.บ้านเหลื่อม 85 กิโลเมตร
21.ปากช่อง 85 กิโลเมตร
22.สีดา 85 กิโลเมตร
23.เสิงสาง 88 กิโลเมตร
24.เทพารักษ์ 90 กิโลเมตร
25.ประทาย 97 กิโลเมตร
26.ชุมพวง 98 กิโลเมตร
27.บัวใหญ่ 101 กิโลเมตร
28.บัวลาย 106 กิโลเมตร
29.เมืองยาง 110 กิโลเมตร
30.แก้งสนามนาง 130 กิโลเมตร
31.ลำทะเมนชัย 130 กิโลเมตร

การเดินทางภายในตัวจังหวัด

มีรถสองแถวและรถเมล์สายต่างๆ วิ่งบริการภายในตัวเมืองและบริเวณใกล้เคียง โดยแบ่งออกเป็นหลายสายด้วยกัน หากต้องการความสะดวกยิ่งขึ้นลงอาจใช้บริการรถสามล้อถีบ และรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งให้บริการผู้โดยสารในเขตตัวเมือง โดยตกลงราคาก่อนการเดินทาง หากต้องการเดินทางไปต่างอำเภอ สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ มีทั้งรถสองแถวและรถโดยสารประจำทางให้บริการ ส่วนสถานีขนส่งแห่งที่ 2 นั้นมีรถโดยสารไปเฉพาะอำเภอพิมายและไปด่านเกวียน-โชคชัย

การเดินทางระหว่างจังหวัด

รถโดยสารวิ่งบริการระหว่างจังหวัดจะออกจากสถานีขนส่งแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น) โดยมีรถจากนครราชสีมาไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ (สายเก่าผ่านนางรอง และสายใหม่ผ่านห้วยแถลง) สุรินทร์ (ผ่านนางรอง-บ้านตะโก) นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารไปยังจังหวัดในภาคอื่นได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี พัทยา ระยอง จันทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ และเชียงราย (ไปจนถึงแม่


งานประเพณี

งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) เป็นงานประจำปีของจังหวัด กำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันที่คุณหญิงโมได้รับชัยชนะจากข้าศึก ในงานมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมการออกร้านจัดนิทรรศการต่างๆ ของหน่วยงานราชการและภาคเอกชน

งานประเพณีแข่งเรือพิมาย เป็นงานประเพณีที่ชาวอำเภอพิมายร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะจัดในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน งานนี้นอกจากจะมีการแข่งเรือของชาวบ้านจากหมู่บ้านต่างๆ ในอำเภอพิมายและอำเภอใกล้เคียงแล้ว ยังมีการตกแต่งเรือตามแบบเรือพระราชพิธี พร้อมประกวดการแห่เรือด้วย ซึ่งนับว่าเป็นงานที่น่าชมมาก

งานเทศกาลเที่ยวพิมาย จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดนครราชสีมา คือ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดียวกับงานประเพณีแข่งเรือพิมาย ภายในงานมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การแข่งเรือยาวประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่พุทธราชาและพุทธประวัติ ขบวนแห่พุทธประทีปและการแสดงประกอบแสง เสียง

ประวัติจังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติจังหวัดร้อยเอ็ด
ร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคอีสานมานานกว่า 200 ปี อดีตเคยเป็นเมืองใหญ่ที่รุ่งเรืองมาก ชื่อว่า สาเกตนคร มีเมืองขึ้นถึงสิบเอ็ดเมือง (ในสมัยโบราณนิยมเขียนสิบเอ็ดเป็น 101 คือสิบกับหนึ่ง) มีทางเข้าสู่เมืองถึงสิบเอ็ดประตู แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากมาย จนแทบจะหาร่องรอยแห่งอดีตไม่พบ ประวัติศาสตร์ของเมืองร้อยเอ็ดเริ่มปรากฏขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีเจ้าลาวจากนครจัมปาศักดิ์ได้เดินทางมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่เป็นอำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน ต่อมาได้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ย้ายเมืองใหม่มาตั้งที่บริเวณเมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน ส่วนเมืองสุวรรณภูมิเดิมก็ยังคงมีอยู่ในสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์คิดกบฎต่อกรุงเทพฯ ได้ยกทัพเข้ามาตีหัวเมืองรายทางจนถึงนครราชสีมา แต่ก็ถูกทัพไทยตีแตกพ่ายไปในที่สุด นอกจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีแสดงการอยู่อาศัยของคนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เช่นกันและรวมทั้งเคยเป็นดินแดนที่อยู่ในเขตอิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ เพราะพบโบราณสถานแบบขอมหลายแห่ง เช่น กู่พระโกนา อำเภอสุวรรณภูมิ กู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ อำเภอธวัชบุรี เป็นต้น ร้อยเอ็ด มีเนื้อที่ 8,299 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 17 อำเภอ และ 3 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอธวัชบุรี อำเภอพนมไพร อำเภอโพนทอง อำเภอเสลภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภออาจสามารถ อำเภอหนองพอก อำเภอเมืองสรวง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทราย อำเภอเมยวดี อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอจังหาร กิ่งอำเภอเชียงขวัญ กิ่งอำเภอหนองฮี และกิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับอำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ ติดกับอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเมือง อำเภอเลิงนกทา อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอเมือง อำเภอวาปีปทุม และอำเภอพยัคฆภูมิจังหวัดมหาสารคาม

ระยะทางจากอำเภอเมืองร้อยเอ็ดไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ
1.อำเภอธวัชบุรี 12 กิโลเมตร
2.อำเภอจตุรพักตรพิมาน 26 กิโลเมตร
3.อำเภอเมืองสรวง 26 กิโลเมตร
4.อำเภอศรีสมเด็จ 27 กิโลเมตร
5.อำเภอเสลภูมิ 32 กิโลเมตร
6.อำเภออาจสามารถ 34 กิโลเมตร
7.อำเภอโพนทอง 47 กิโลเมตร
8.อำเภอเกษตรวิสัย 47 กิโลเมตร
9.อำเภอจังหาร 48 กิโลเมตร
10.อำเภอสุวรรณภูมิ 52 กิโลเมตร
11.อำเภอโพธิ์ชัย 53 กิโลเมตร
12.อำเภอพนมไพร 64 กิโลเมตร
13.อำเภอเมยวดี 72 กิโลเมตร
14.อำเภอหนองพอก 73 กิโลเมตร
15.อำเภอโพนทราย 82 กิโลเมตร
16.อำเภอปทุมรัตน์ 85 กิโลเมตร
17.กิ่งอำเภอเชียงขวัญ 12 กิโลเมตร
18.กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง 26 กิโลเมตร
19.กิ่งอำเภอหนองฮี 78 กิโลเมตร

การเดินทาง
   รถยนต์ ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่จังหวัดสระบุรี ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา ผ่านอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดมหาสารคาม ถึงจังหวัดร้อยเอ็ด รวมระยะทางประมาณ 512 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง
   รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งจตุจักร (หมอชิต 2) กรุงเทพฯ มีรถโดยสารทั้งธรรมดาและปรับอากาศไปจังหวัดร้อยเอ็ดวันละหลายเที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852-66, 0 2936 1880 และจากจังหวัดร้อยเอ็ดมากรุงเทพฯ รถออกจากสถานีขนส่งร้อยเอ็ด ถนนเทวาภิบาล โทร. 0 4351 1939, 0 4351 2546 www.transport.co.th
    รถไฟ ต้องไปลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถยนต์โดยสารเข้าจังหวัดร้อยเอ็ด สอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 www.railway.co.th
    เครื่องบิน สายการบิน พีบีแอร์ เปิดบริการเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ-ร้อยเอ็ด ทุกวันจันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์และเสาร์ วันละ 1 เที่ยว รายละเอียดสอบถามได้ที่ กรุงเทพฯ โทร. 0 2261 0220, 0 2535 4843-4 ร้อยเอ็ด โทร.0 4351 9577, 0 4351 2835 หรือ www.pbair.com สนามบินร้อยเอ็ดอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร มีรถบริการเข้าในตัวเมือง ค่าโดยสารคนละ 100 บาท


งานประเพณี

งานประเพณีบุญข้าวจี่ของดีเมืองโพธิ์ชัย หรือบุญเดือนสาม เป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นตามฮีตสิบสอง จารีตประเพณีโบราณของชาวอีสาน ซึ่งถือว่าการได้ทำบุญข้าวจี่แล้วจะได้บุญกุศลมากและเป็นกาละทานชนิดหนึ่ง ในงานได้จัดให้มีการประกวดธิดาปุณณทาสี และข้าวจี่ยักษ์อีกด้วย

งานประเพณีกินข้าวปุ้นบุญผะเหวด เริ่มจัดปี พ.ศ. 2534 และจัดเป็นประจำทุกปี ประมาณต้นเดือนมีนาคม บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์และบึงพลาญชัย บุญผะเหวดหรือทางภาคกลางเรียกว่าบุญมหาชาติ นิยมจัดในช่วงเดือนสี่ เป็นงานบุญที่พระเทศน์มหาเวสสันดรชาดก เรียกการเทศน์นี้ว่า เทศน์มหาชาติ มีการแห่ขบวนผะเหวด 13 ขบวน ตามกัณฑ์เทศน์มหาชาติ จากอำเภอและหน่วยงานต่างๆ บริเวณรอบบึงพลาญชัยด้านในจัดเป็นร้านข้าวปุ้น (ขนมจีน) ไว้คอยบริการฟรีสำหรับผู้มาร่วมงาน นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน เช่น พานบายศรีสู่ขวัญ เป็นต้น

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นงานที่จัดตามอำเภอต่างๆ ภายในจังหวัด ประมาณเดือนมิถุนายน โดยแต่ละอำเภอจะมีขบวนแห่บั้งไฟซึ่งจัดอย่างสวยงาม แสดงถึงประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะที่อำเภอพนมไพร และอำเภอสุวรรณภูมิ จะมีขบวนแห่ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่

ประเพณีแห่เทียนพรรษา จัดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาของทุกปี ณ บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์โดยขบวนแห่ต้นเทียนแต่ละวัดจะตกแต่งอย่างสวยงามด้วยดอกไม้สีสวยสด และสาวงามจะเคลื่อนขบวนจากคุ้มต่างๆ ผ่านตลาดไปยังบริเวณหน้าศาลาจตุรมุข ในบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เพื่อร่วมประกวดต้นเทียนและขบวนแห่ต้นเทียน โดยจะมีการรำเซิ้งแบบอีสานประกอบ

งานแข่งขันเรือยาวประเพณี ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลาก คือช่วงเทศกาลออกพรรษา หรือประมาณกลางเดือนตุลาคมของทุกปี เรือที่มาร่วมแข่งเป็นเรือของจังหวัดร้อยเอ็ด และจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และนครราชสีมา เป็นต้น

ประวัติจังหวัดมหาสารคาม


ประวัติจังหวัดมหาสารคาม

 มหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความสงบ และเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น "ตักศิลาแห่งอีสาน" เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาอยู่มากมายหลายแห่ง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 475 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 5,291 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม กันทรวิชัย โกสุมพิสัย วาปีปทุม บรบือ พยัคฆภูมิพิสัย นาเชือก เชียงยืน นาดูน แกดำ ยางสีสุราช กิ่งอำเภอกุดรังและกิ่งอำเภอชื่นชม

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดขอนแก่น

การเดินทาง
   รถยนต์ จากกรุงเทพฯเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่จังหวัดสระบุรี ผ่านจังหวัดนครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 226) เข้าจังหวัดบุรีรัมย์(ทางหลวงหมายเลข 219) ผ่านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอบรบือ เข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม รวมระยะทางประมาณ 475 กิโลเมตร
    รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศบริการวันละหลายเที่ยว รายละเอียดสอบถามได้ที่สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ หมอชิต 2 โทร. 0 2936 2852-66 สำหรับบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการไปจังหวัดมหาสารคามคือ มงคลทัวร์ โทร. 0 4371 1072 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3638-9 www.transport.co.th
    สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟ หรือเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคามอีกประมาณ 72 กิโลเมตร

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ
1.อำเภอกันทรวิชัย 18 กิโลเมตร
2.อำเภอบรบือ 26 กิโลเมตร
3.อำเภอโกสุมพิสัย 28 กิโลเมตร
4.อำเภอแกดำ 28 กิโลเมตร
5.อำเภอวาปีปทุม 40 กิโลเมตร
6.อำเภอเชียงยืน 55 กิโลเมตร
7.อำเภอนาเชือก 58 กิโลเมตร
8.อำเภอนาดูน 64 กิโลเมตร
9.อำเภอยางสีสุราช 70 กิโลเมตร
10.อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 82 กิโลเมตร
11.กิ่งอำเภอกุดรัง 70 กิโลเมตร
12.กิ่งอำเภอชื่นชม 40 กิโลเมตร

งานประเพณี

งานแห่เทียนเข้าพรรษา (อำเภอโกสุมพิสัย) จัดขึ้นที่บริเวณที่ว่าการอำเภอโกสุมพิสัย โดยจัดก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน ในงานจะมีขบวนแห่เทียนของคุ้มต่างๆ และมีการประกวดความสวยงามของเทียน

งานบุญบั้งไฟ (อำเภอนาเชือก) จัดขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี ณ บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอนาเชือก ในงานมีการประกวดขบวนแห่บั้งไฟ การตกแต่งขบวนและประกวดบั้งไฟขึ้นสูง กลางคืนมีเวียนเทียน ทำบุญที่วัด มหรสพ และงานรื่นเริง การละเล่นต่างๆ

งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด เป็นงานเฉลิมฉลองในช่วงต้นฤดูการทำนา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จัดบริเวณศาลากลางจังหวัด เพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอีสาน ในงานจัดให้มีขบวนแห่บุญเบิกฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระแม่โพสพ เรื่องของพานบายศรีสู่ขวัญ ตลอดจนวัฒนธรรม การละเล่น ดนตรีพื้นบ้าน และพิธีกรรมต่างๆ

งานนมัสการพระธาตุนาดูน จัดงานในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) ของทุกปี โดยจัดที่บริเวณพุทธมณฑลอีสานพระธาตุนาดูน รวม 5 วัน 5 คืน

งานออนซอนกลองยาวชาววาปี ของดีพื้นบ้าน (อำเภอวาปีปทุม) จะจัดงานเป็นประจำในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคมของทุกปี ณ สนามที่ว่าการอำเภอวาปีปทุม ในบริเวณงานจะมีการประกวดกลองยาวพื้นบ้านและกลองยาวประยุกต์ขบวนแห่คณะกลองยาว การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง การประกวดธิดากลองยาวและมหรสพต่างๆมากมาย


ประวัติจังหวัดบุรีรัมย์


ประวัติจังหวัดบุรีรัมย์

 บุรีรัมย์ เมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน ดินแดนแห่งอารยธรรมขอมโบราณ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร จังหวัดบุรีรัมย์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 10,321 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 21 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง ลำปลายมาศ ประโคนชัย พุทไธสง สตึก กระสัง บ้านกรวด คูเมือง ละหานทราย หนองกี่ ปะคำ นาโพธิ์ หนองหงส์ พลับพลาชัย ห้วยราช โนนสุวรรณ เฉลิมพระเกียรติ ชำนิ โนนดินแดง บ้านกรวด ละหานทราย บ้านใหม่ไชยพจน์ กิ่งอำเภอแคนดง และกิ่งอำเภอบ้านด่าน

ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และที่สำคัญที่สุด คือ ปราสาทขอมน้อยใหญ่กว่า 60 แห่ง ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไป อันแสดงถึงความรุ่งเรืองของบุรีรัมย์มาแต่ครั้งอดีตกาล รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะดินเผาสมัยขอม กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18

หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสระแก้วและเทือกเขาพนมมาลัย ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา

การเดินทาง
   รถยนต์ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 รวมระยะทาง 410 กิโลเมตร หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแถลง-ลำปลายมาศ รวมระยะทาง 384 กิโลเมตร
   รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด เดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ ทุกวัน มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รายละเอียดติดต่อได้ที่ โทร.0 2936 2852-66 สถานีขนส่งบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 2534 www.transport.co.th
   รถไฟ มีรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-สุรินทร์ และนครราชสีมา-อุบลราชธานี ทั้งที่เป็นขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และรถดีเซลราง ผ่านสถานีบุรีรัมย์ทุกขบวน รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th
   เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินไปจังหวัดบุรีรัมย์โดยตรงโดยมีเที่ยวบินไปลงที่สนามบินอำเภอสตึก จากนั้นต่อรถเข้าตัวเมืองบุรีรัมย์เป็นระยะทางอีกประมาณ 40 กิโลเมตร ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 www.thaiairways.com

การเดินทางภายในจังหวัด
    การเดินทางภายในตัวเมืองสามารถใช้บริการรถสามล้อรับจ้าง ตกลงค่าโดยสารก่อนใช้บริการ ส่วนการเดินทางระหว่างอำเภอมีรถโดยสารจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปยังอำเภอต่าง ๆ ระยะทางจากอำเภอเมือง ไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ เป็นดังนี้:- ห้วยราช 12 กิโลเมตร, กระสัง 32 กิโลเมตร, ลำปลายมาศ 32 กิโลเมตร, คูเมือง 33 กิโลเมตร, สตึก 40 กิโลเมตร, พลับพลาชัย 40 กิโลเมตร,นางรอง 54 กิโลเมตร, หนองหงส์ 60 กิโลเมตร, ประโคนชัย 44 กิโลเมตร, พุทไธสง 64 กิโลเมตร, โนนสุวรรณ 40 กิโลเมตร, บ้านกรวด 66 กิโลเมตร, เฉลิมพระเกียรติ 68 กิโลเมตร, นาโพธิ์ 78 กิโลเมตร, ปะคำ 78 กิโลเมตร,หนองกี่ 83 กิโลเมตร, ละหานทราย 100 กิโลเมตร,โนนดินแดง 92 กิโลเมตร, ชำนิ 70 กิโลเมตร, บ้านใหม่ไชยพจน์ 85 กิโลเมตร, บ้านด่าน 15 กิโลเมตร, แคนดง 56 กิโลเมตร

การเดินทางระหว่างจังหวัด
จากสถานีขนส่งบุรีรัมย์ มีรถโดยสารไปยังจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
รถธรรมดาไปนครราชสีมา ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สุรินทร์
รถปรับอากาศไปเชียงใหม่ พัทยา ระยอง จันทบุรี สระแก้ว อุบลราชธานี นครราชสีมา กรุงเทพฯ
สอบถามสถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 2534

งานประเพณี

นอกจากวันสำคัญทางศาสนา วันสงกรานต์ และวันขึ้นปีใหม่ ชาวบุรีรัมย์ยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง เช่น เทศกาลเดือน 5 มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำให้ผู้สูงอายุ มีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น สะบ้า ชักเย่อ ฯลฯ บางท้องถิ่น เช่น อำเภอพุทไธสงจะมีการเซิ้งบั้งไฟ เทศกาลเข้าพรรษามีการประกวดเทียนเข้าพรรษา เทศกาลเดือน 12 มีประเพณีลอยกระทง แล้วยังมีงานประเพณีของชาวจังหวัดบุรีรัมย์ที่สืบต่อกันมาอีกหลายงาน เช่น

ประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นงานประเพณีประจำปี กำหนดจัดในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากในลำน้ำมูล ชาวเรือบุรีรัมย์และจากจังหวัดต่าง ๆ มาร่วมชุมนุมประลองฝีพายที่สนามแข่งเรือหน้าที่ว่าการอำเภอสตึก เพื่อแข่งขันความเป็นเจ้ายุทธจักรแห่งลำน้ำมูล ในแต่ละปีมีจำนวนเรือเข้าแข่งไม่น้อยกว่า 40-50 ลำ และยังมีขบวนเรือตกแต่งแฟนซีงดงามด้วย ประเพณีแข่งเรือยาวที่สนามแห่งนี้ เดิมเป็นประเพณีท้องถิ่นสังสรรค์กันในหมู่ญาติมิตรและสักการะเจ้าพ่อวังกรุด ซึ่งเป็นชื่อวังน้ำวนช่วงหนึ่งของแม่น้ำมูล ต่อมาได้จัดเป็นงานประเพณีของจังหวัดตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นศาสนสถานในลัทธิพราหมณ์และได้รับการแปลงเป็นพุทธสถานในสมัยหลัง ช่วงที่ถูกทิ้งร้างอยู่มีผู้นำพระพุทธบาทจำลองไปประดิษฐานไว้ที่ปรางค์น้อยบนเขา กลายเป็นประเพณีของชาวบ้านรอบ ๆ บริเวณนั้นพากันขึ้นไปนมัสการปิดทองรอยพระพุทธบาทนี้รวมทั้งไหว้พระทำบุญในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี เนื่องจากปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ยี่งใหญ่สวยงามและเป็นประเพณีแต่เดิมอยู่แล้ว จังหวัดจึงได้ส่งเสริมให้มีงานประเพณีในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนเมษายน โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณ ได้แก่ ขบวนแห่ราชประเพณีขอมโบราณ การแสดงแสง-เสียงย้อนรอยอดีตพนมรุ้ง และการแสดงระเบิดภูเขาไฟจำลอง

งานมหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์ ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวหรือย่างเข้าสู่ฤดูหนาวมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดแรง คนชนบทก็พากันทำว่าวแอก ซึ่งมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเล่นกันทุกหมู่บ้าน เป็นประเพณีการละเล่นของท้องถิ่นอีสานแต่นานมา บุรีรัมย์จัดมหกรรมว่าวอีสานขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2529 เพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์ของอีสานใต้ให้คงอยู่และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง เปิดโอกาสให้คนทุกตำบล ทุกหมู่บ้านทำว่าวแอกมาแข่งขันชิงรางวัลกัน ว่าวที่นำมาเข้าแข่งขันต้องมีขนาดปีกกว้าง 2 เมตรครึ่งขึ้นไป ตัดสินกันที่ความสวยงาม เสียงแอก และลีลาของว่าวบนท้องฟ้า นอกจากนี้มีการประกวดขบวนแห่ว่าวที่ยิ่งใหญ่สวยงาม ตอนค่ำมีมหรสพ การละเล่น และการแสดงสินค้าพื้นบ้าน งานมหกรรมว่าวอีสานจัดขึ้นที่สนามกีฬาจังหวัดอำเภอห้วยราชในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนธันวาคมของทุกปี งานนมัสการพระเจ้าใหญ่ที่วัดหงษ์ (วัดศีรษะแรด) อำเภอพุทไธสง ในวันขึ้น 14 ค่ำถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ทุกปีเป็นเทศกาลนมัสการปิดทองพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของบุรีรัมย์ มีการทำบุญไหว้พระและมีมหรสพต่าง ๆ มากมาย รวม 3 วัน

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง ที่เขากระโดง อำเภอเมือง จัดงานในวันเพ็ญเดือน 3 เช่นกัน ประชาชนจะไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองและพระสุภัทรบพิตร ตลอดจนเที่ยวงานกันอย่างคับคั่


ประวัติจังหวัดนครพนม

ประวัติจังหวัดนครพนม
นครพนม เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง(ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามประวัติเล่ากันว่าเมื่อพญานันทเสนผู้ครองศรีโคตรบูรสวรรคต เสนาอำมาตย์และประชาชนต่างก็เห็นว่าบ้านเมืองเกิดเภทภัยหลายครั้ง ควรที่จะย้ายไปสร้างเมืองใหม่อยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีป่าไม้รวกขึ้นอยู่เป็นดงจึงได้เรียกชื่อเมืองใหม่นี้ว่า "มรุกขนคร" หมายถึงเมืองที่อยู่ในดงไม้รวก มรุกขนครในสมัยพญาสุมิตรธรรมเมื่อ พ.ศ. 500 นั้นรุ่งเรืองมาก มีเมืองขึ้นมากมายและมีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย โดยการก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแแพงล้อมรอบ มีงานสมโภชใหญ่โต หลังจากพญา สุมิตรธรรมแล้วก็มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ แต่ก็เกิดมีเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรจนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ. 1800 เจ้าศรีโคตรบูรได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในพ.ศ. 2057 ผู้ครองเมืองมรุกขนครคือพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศ ราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น "เมืองศรีโคตรบูร" ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม ในยุคสมัยนี้ยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอีกด้วย ต่อมา พ.ศ. 2280 พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรองค์สุดท้ายได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วให้ชื่อว่า "เมืองนคร" ซึ่งก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายอีกหลายครั้ง ดังเช่น พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางทิศเหนือ 52 กิโลเมตร จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2333 เมื่อผู้ครองเมืองนครถึงแก่พิราลัย เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามให้ใหม่ว่า " นครพนม" ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อนและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงได้ใช้คำว่า " นคร" ส่วนคำว่า "พนม" ก็มาจากพระธาตุพนมปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บ้างก็ว่ามรุกขนครเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งอยู่ในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนจึงนำคำว่า "พนม" ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า "นคร" ก็เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้คือเมืองมรุกขนคร นครพนมจึงหมายถึง " เมืองแห่งภูเขา" นั่นเอง

จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,512.668 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 740 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม นาแก ท่าอุเทน เรณูนคร บ้านแพง ปลาปาก ศรีสงคราม นาหว้า โพนสวรรค์ นาทม และกิ่งอำเภอวังยาง

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอดงหลวง กิ่งอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

การเดินทาง
    รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข 213 แล้วแยกขวาเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์และผ่านจังหวัดสกลนคร ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม ตามทางหลวงหมายเลข 22 รวมระยะทางประมาณ 740 กิโลเมตร
    รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-นครพนม มีทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852 - 66 และที่จังหวัดนครพนม โทร. 0 4251 1043 สำหรับบริษัทเอกชนติดต่อ บริษัท แสงประทีปเดินรถ จำกัด โทร. 0 4252 0411 บริษัท ชัยสิทธิ์ จำกัด โทร. 0 4252 0651 และบริษัทเชิดชัยทัวร์ จำกัด โทร. 0 4251 2098 www.transport.co.th
   เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดนครพนม สอบถามตารางการบินได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 , 0 4251 2494 www.thaiairways.com และบริษัท พี บี แอร์ จำกัด 0 2261 0220-5 , 0 4258 7207 www.pbair.com

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ
1.อำเภอท่าอุเทน 26 กิโลเมตร
2.อำเภอปลาปาก 44 กิโลเมตร
3.อำเภอโพนสวรรค์ 45 กิโลเมตร
4.อำเภอเรณูนคร 51 กิโลเมตร
5.อำเภอธาตุพนม 52 กิโลเมตร
6.อำเภอศรีสงคราม 67 กิโลเมตร
7.อำเภอนาแก 78 กิโลเมตร
8.อำเภอบ้านแพง 93 กิโลเมตร
9.อำเภอนาหว้า 93 กิโลเมตร
10.อำเภอนาทม 130 กิโลเมตร
11.กิ่งอำเภอวังยาง 80 กิโลเมตร

ระยะทางจากจังหวัดนครพนมไปยังจังหวัดใกล้เคียง มีดังนี้
จังหวัดสกลนคร 93 กิโลเมตร
จังหวัดมุกดาหาร 104 กิโลเมตร
จังหวัดอุบลราชธานี 271 กิโลเมตร
จังหวัดขอนแก่น 298 กิโลเมตร
จังหวัดหนองคาย 303 กิโลเมตร

การเดินทางในตัวเมืองยังไม่มีรถโดยสารหรือรถสองแถวประจำทางมีเพียงรถสกายแล็ปเท่านั้น ราคาแล้วแต่จะตกลงกัน ส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ 5 บาทไปจนถึง 20 บาท


งานประเพณี

งานนมัสการพระธาตุพนม กำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 10 ค่ำถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งงานหนึ่งของชาวนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง


งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม (เฮือไฟ) จัดขึ้นในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดริมแม่น้ำโขงบริเวณเขตเทศบาล การไหลเรือไฟถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากเทวโลก หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ดาวดึงษ์เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาสู่มนุษย์โลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 วันนี้เรียกว่า "วันพระเจ้าโปรดโลก" พระองค์เสด็จมา ณ เมืองสังกัสสะ สถานที่นั้นเรียกว่า "อจลเจดีย์" (อ่านว่า อะ-จะ-ละ-เจ-ดี) ทวยเทพทั้งหลายส่งเสด็จ มวลมนุษย์ทั้งหลายรับเสด็จด้วยเครื่องสักการะบูชามโหฬาร การไหลเรือไฟก็คือการสักการะบูชาอย่างหนี่งในวันนั้น และได้ทำเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีตำนานการไหลเรือไฟที่แตกต่างกันก็ถือว่าทำให้ได้รับอานิสงฆ์เหมือนกัน เดิมเรือไฟทำด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุไว้ด้วยขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการจะบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสวก่อนจะปล่อยเรือไฟ ปัจจุบันมีการจัดทำเรือไฟเป็นรูปแบบต่างๆ ที่ขนาดใหญ่โตขึ้น มีวิธีการประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วงจะเป็นภาพที่งดงามติดตาติดใจผู้พบเห็นไปตราบนานเท่านาน ไม่มีที่ไหนๆ ในประเทศไทยจะยิ่งใหญ่เหมือนที่จังหวัดนครพนม

การแข่งเรือ (ส่วงเฮือ) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหว่างงานบุญออกพรรษามีความมุ่งหมายให้ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคีความเสียสละ และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนชาวลาวและชาวไทย จัดขึ้นในลำน้ำโขง บริเวณหน้าเขื่อนนครพนม มีระยะทางแข่งขัน 3 กิโลเมตร ในร่องน้ำที่ไหลเชี่ยวยากลำบากมากในการแข่งขัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ชนะคือผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง

ประเพณีแสกเต้นสาก เป็นประเพณีของชนเผ่าแสกที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านอาจสามารถ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมประมาณ 4 กิโลเมตร ประเพณีแสกเต้นสากเป็นการเต้นบวงสรวงเจ้าที่จะเต้นการเป็นประจำทุกปี ในเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ การแสกเต้นสากนอกเทศกาลจะต้องทำพิธีขอขมาก่อน ของที่ใช้ ได้แก่ หัวหมู เงิน 20 บาท และเหล้า ซึ่งจะทำพิธีที่ศาลเจ้าประจำหมู่บ้านโดยการเสี่ยงทายไม้สี ถ้าได้สีเดียวกันแสดงว่าเจ้าไม่อนุญาต การเต้น "แสกเต้นสาก" ใช้ไม้สีแดงสลับขาวเรียก "สาก" นำด้วยเสียงกลองจังหวะเร็ว ผู้เต้นจะซอยเท้าถี่ๆลงไปตามจังหวะการกระทบไม้คล้ายการเต้นลาวกระทบไม้แต่จะเร็วกว่ามาก ประเพณีโส้ทั้งปั้น เป็นประเพณีของพวกโซ่ (โส้) การเต้นโส้ทั้งปั้นนี้เป็นการรำในงานศพเพื่อที่จะส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุคติ การเต้นรำมีทั้งชายและหญิง พวกโซ่เป็นชนเผ่าข่าพวกหนึ่ง ลักษณะผิวคล้ำ มีภาษาเป็นของตนเอง ภาษาที่ใช้คล้ายภาษามอญปนเขมร หมู่บ้านชาวโส้นี้ตั้งอยู่ที่บริเวณอำเภอท่าอุเทน อำเภอนาแก และอำเภอศรีสงคราม

การฟ้อนผู้ไทย เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน โดยจะฟ้อนในงานเทศกาลเดือน 5 และเดือน 6 สมัยก่อนจะฟ้อนกันตามความถนัดและความสามารถแต่ละบุคคล ไม่ได้เน้นความเป็นระเบียบหรือความพร้อมเพรียงกัน แต่เน้นลีลาการฟ้อนรำของชายหญิงคู่กัน ยึดการรำแบบดั้งเดิมเป็นหลัก นับเป็นศิลปะที่สวยงามหาชมได้ยากในปัจจุบัน นอกจากนี้ชาวผู้ไทยยังมีการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ สำหรับ การฟ้อนผู้ไทยและการเลี้ยงอาหารแบบพาแลงนี้ สามารถติดต่อชมได้ที่บ้านผู้ไทย คุณชัยบดินทร์ สาลีพันธ์ อำเภอเรณูนคร โทร. 0 4257 9174 , 0 1263 2458 (การฟ้อนภูไทยและการเลี้ยงอาหารแบบพาแลง ต้องมีการจองตั้งแต่ 35 คนขึ้นไป)

วันเสาร์, กันยายน 12, 2552

ประวัติจังหวัดชัยภูมิ

ประวัติจังหวัดชัยภูมิ





จังหวัดชัยภูมิตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือ เป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวแสนงาม และสายน้ำตกชุ่มฉ่ำยามหน้าฝน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ ภูพังเหย ภูแลนคา ภูพญาฝ่อ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม จนถึงอิทธิพลลาวล้านช้าง มีการค้นพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด ต่อมาปรากฏชื่อเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายหลังจึงร้างไป และมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีชาวเวียงจันทน์เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง มีผู้นำชื่อ แล ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ

ชัยภูมิอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 342 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 15 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอจัตุรัส อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอคอนสาร อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเนินสง่า และกิ่งอำเภอซับใหญ่

อาณาเขต
ทิศเหนือ จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดขอนแก่น
ทิศใต้ จดจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก จดจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดลพบุรี

การเดินทาง
  รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี แยกขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ที่อำเภอสีคิ้ว ผ่านอำเภอด่านขุนทด อำเภอจัตุรัส เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทางประมาณ 342 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่ง คือ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านสระบุรี ถึงแยกพุแค แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ถึงอำเภอชัยบาดาล จากนั้นเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 205 ผ่านอำเภอเทพสถิต อำเภอจตุรัส เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ
   รถโดยสาร มีบริการเดินรถ กรุงเทพฯ-ชัยภูมิ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โทร.0 2936 2852-66 สถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493 บริษัท แอร์ชัยภูมิ โทร. 0 4481 1556 นครชัยแอร์ โทร. 0 4481 2522 ชัยภูมิจงเจริญ โทร. 0 4481 1780 ชัยภูมิทัวร์ โทร. 0 44 81 6012 www.transport.co.th
  รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถด่วน รถเร็ว กรุงเทพฯ-หนองคาย บริการทุกวันโดยลงที่สถานีบัวใหญ่ จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารประจำทางไปชัยภูมิอีก 51 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ แผนกบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th
   เครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีบริการเที่ยวบินไปจังหวัดชัยภูมิ หากประสงค์จะเดินทางไปโดยเครื่องบินจะต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารจากจังหวัดขอนแก่นย้อนกลับเข้าชัยภูมิ ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร หรือจะลงที่จังหวัดนครราชสีมา แล้วต่อรถโดยสารเข้าจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 119 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 www.thaiairways.com
    จากสถานีขนส่งชัยภูมิมีรถโดยสารประจำทางไปกรุงเทพฯ เลย เชียงใหม่ นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น เพชรบูรณ์-หล่มสัก พิษณุโลก ชุมแพ บัวใหญ่ คอนสวรรค์ หนองบัวแดง เกษตรสมบูรณ์ บ้านเขว้า สมอทอด คอนสาร ลำนารายณ์ บ้านไผ่ ติดต่อสอบถามสถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ
1.บ้านเขว้า 13 กิโลเมตร
2.เนินสง่า 30 กิโลเมตร
3.หนองบัวระเหว 33 กิโลเมตร
4.คอนสวรรค์ 38 กิโลเมตร
5.จัตุรัส 39 กิโลเมตร
6.แก้งคร้อ 45 กิโลเมตร
7.หนองบัวแดง 53 กิโลเมตร
8.บำเหน็จณรงค์ 58 กิโลเมตร
9.ภูเขียว 77 กิโลเมตร
10.บ้านแท่น 81 กิโลเมตร
11.ภักดีชุมพล 85 กิโลเมตร
12.เกษตรสมบูรณ์ 90 กิโลเมตร
14.เทพสถิต 105 กิโลเมตร
16.คอนสาร 125 กิโลเมตร



งานประเพณี

งานฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-20 มกราคมของทุกปี ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดและสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล มีขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ รวมทั้งการออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ และ การประกวดผลิตผลทางการเกษตร

งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล จัดที่บริเวณศาลหนองปลาเฒ่า จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-20 พฤษภาคม ของทุกปี ชาวบ้านจะไปเคารพสักการะดวงวิญญาณของเจ้าพ่อ และรำถวายเจ้าพ่อที่ศาลหลังเก่ากันเป็นจำนวนมาก

งานแห่เทียนเข้าพรรษา เป็นงานที่เทศบาลเมืองชัยภูมิจัดขึ้นทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ประมาณเดือนกรกฎาคม) มีการประกวดเทียนพรรษาที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม เป็นงานที่มีประชาชนให้ความสนใจไม่แพ้งานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี

นอกจากนี้ยังมีงานประเพณีอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับจังหวัดในภาคอีสาน เช่น งานบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก ประมาณเดือนพฤษภาคม งานบุญข้าวจี่ เป็นการฉลองเมื่อเสร็จสิ้นการทำนา ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ งานบุญพระเวส หรืองานบุญเดือนสี่ ประมาณเดือนมีนาคม มีการเทศน์มหาชาติ

ประเพณีรำผีฟ้า เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักในหินทราย สูงประมาณ 2 เมตร ชาวบ้านถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก การรำบวงสรวงนี้จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 (เดือนเมษายน) และในวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ซึ่งจะมีประชาชนไปทำบุญกันมาก

งานบุญเดือนสี่ เป็นงานประเพณีของชาวอำเภอคอนสาร ในวันขึ้น 1-3 ค่ำ เดือน 5 (ราวกลางเดือนมีนาคม) ในงานนี้ชาวบ้านจะนิยมเล่นสะบ้าแข่งขันกันเพื่อชิงรางวัลและความสนุกสนานในบริเวณวัดเจดีย์ อำเภอคอนสาร เป็นประเพณีแข่งขันสะบ้าที่พบเพียงแห่งเดียวในภาคอีสาน

ประวัติจังหวัดกาฬสินธุ์

ประวัติจังหวัดกาฬสินธุ์

 
กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตร ได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำปาว เรียกว่า "บ้านแก่งสำโรง" แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า "เมืองกาฬสินธุ์" หรือ "เมืองน้ำดำ" ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล "กาฬ" แปลว่า "ดำ" "สินธุ์" แปลว่า "น้ำ" กาฬสินธุ์จึงแปลว่า "น้ำดำ" ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็น "พระยาชัยสุนทร" ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก

กาฬสินธุ์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 519 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 7,055.07 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศตอนบนเป็นภูเขาตามแนวเทือกเขาภูพาน ตอนกลางเป็นเนินเขา ลับป่าโปร่ง แบ่งการปกครองออกเป็น 14 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอ ยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสมเด็จ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอท่าคันโท อำเภอเขาวง อำเภอห้วยเม็ก อำเภอคำม่วง อำเภอหนองกุงศรี อำเภอนามน อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอร่องคำ กิ่งอำเภอสามชัย กิ่งอำเภอนาคู กิ่งอำเภอดอนจาน และกิ่งอำเภอฆ้องชัย

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดอุดรธานี สกลนคร
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสกลนคร มุกดาหาร
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และอุดรธานี

การเดินทาง
   รถยนต์ จากกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์ ระยะทาง 519 กิโลเมตร ใช้เส้นทาง กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 23, 213 และทางหลวงหมายเลข 209 มหาสารคาม-กาฬสินธุ์
   รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์ทุกวัน โดยมีบริการทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามที่ สถานีขนส่งจตุจักร (หมอชิต 2) โทร. 0 2936 2841, 0 2936 1880, 0 2936 2852-66 หรือ www.transport.co.th
   รถไฟ ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สถานีรถไฟขอนแก่น จากขอนแก่นต่อรถประจำทางเข้ากาฬสินธุ์อีก 78 กิโลเมตร สำหรับกรุงเทพฯ-ขอนแก่นนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการทั้งขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถดีเซลรางปรับอากาศ รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 สถานีรถไฟขอนแก่น โทร. 0 4322 1112 หรือ www.railway.co.th
    เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไม่มีเที่ยวบินบินตรงไปจังหวัดกาฬสินธุ์แต่สามารถใช้เส้นทางบินกรุงเทพฯ-ขอนแก่น แล้วต่อรถโดยสารเข้ากาฬสินธุ์ สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 และ www.thaiairways.com หรือใช้บริการสายการบินพีบีแอร์ เส้นทางกรุงเทพฯ-ร้อยเอ็ด ซึ่งมีเที่ยวบินทุกวันยกเว้นวันอังคารและวันอาทิตย์ แล้วต่อรถโดยสารเข้ากาฬสินธุ์ สอบถามข้อมูลได้ที่โทร. 0 2261 0221-5 และ 0 4351 8572 หรือ http://www.pbair.com/




ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอ และกิ่งอำเภอต่างๆ ในจังหวัดกาฬสินธุ์
1.กมลาไสย 12 กิโลเมตร
2.ยางตลาด 16 กิโลเมตร
3.สหัสขันธ์ 39 กิโลเมตร
4.ร่องคำ 39 กิโลเมตร
5.สมเด็จ 40 กิโลเมตร
6.นามน 42 กิโลเมตร
7.ห้วยเม็ก 48 กิโลเมตร
8.ห้วยผึ้ง 60 กิโลเมตร
9.หนองกุงศรี 62 กิโลเมตร
10.กุฉินารายณ์ 79 กิโลเมตร
11.คำม่วง 81 กิโลเมตร
12.ท่าคันโท 99 กิโลเมตร
13.เขาวง 103 กิโลเมตร
14.กิ่งอำเภอฆ้องชัย 26 กิโลเมตร
15.กิ่งอำเภอดอนจาน 32 กิโลเมตร
16.กิ่งอำเภอสามชัย 85 กิโลเมตร
17.กิ่งอำเภอนาคู 88 กิโลเมตร

การเดินทางในตัวจังหวัดกาฬสินธุ์มีรถสามล้อถีบ และสามล้อเครื่อง (รถสกายแล็บ) รับจ้างอยู่ทุกถนน และยังมีรถโดยสารระหว่างตัวจังหวัดวิ่งไปยังอำเภอต่างๆ อีกด้วย

งานประเพณี

1.งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ภายในงานประกอบด้วยขบวนแห่ของแต่ละอำเภอ ตกแต่งขบวนเป็นรูปเครื่องดนตรีโปงลางขนาดยักษ์ แต่งกายชุดพื้นเมือง แข่งขันสาวดีดไห การประกวดธิดาแพรวา และจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ

2.งานมหกรรมวิจิตรแพรวาราชินีแห่งไหม จัดขึ้นประมาณวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ณ โรงแรมริมปาว เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สนับสนุนส่งเสริมและรับงานการทอผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทยเข้าไว้ในโครงการ ศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนทำให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวผู้ไทยอีกด้วย ในงานจะมีการประกวดผ้าไหมแพรวา การแสดงแบบชุดแพรวา ขบวนแห่ทางวัฒนธรรม การสาธิตทอผ้าและจำหน่ายผ้าแพรวา